Please rotate your device
กรุณาพลิกหน้าจอเพื่อเข้าสู่เว็บไซต์
ปี 2545-2550 บุรีรัมย์เป็น 1 ใน 10 อันดับจังหวัดที่มี สัดส่วนคนยาก จนสูงที่สุดในประเทศไทย* คนบุรีรัมย์และจังหวัดข้างเคียงทำอาชีพ เกษตรกรรมเป็นหลัก ด้วยสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สาร เคมีทำการ เกษตร นานเข้าก็ส่งผลกับสุขภาพ เกษตรกรป่วยและเป็น หนี้ สะสมมากขึ้นเรื่อยๆก็ยิ่งตอกย้ำความยากจนให้หนักขึ้น เกิดเป็น วงจรที่หลุดออกมาได้ยาก
งานช่วงแรกของเครื่อข่ายฯ ที่เข้าไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ เราพบว่าชาว บ้านมีภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวนมาก ที่ทำให้พึ่งพาตนเองได้ และนำมา แก้ปัญหาความยากจนได้ แต่ภูมิปัญญาเหล่านี้เกิดจากชาวบ้านลงมือ ทำแล้วเก็บสะสม บทเรียนและข้อค้นพบไว้เฉพาะตัว ไม่ได้นำมาถ่าย ทอดให้กัน เราจึงส่งเสริมให้คนในชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาทดลอง ต่อยอดเพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังต่อไป
แรกเริ่มเราจัดการอบรมการทำเกษตรอินทรีย์ให้เกษตรกร มีเกษตร กรเข้าร่วมอบรมกว่า 2,000 คน แต่หลังจากการอบรม เกษตรกรก็ยัง ไม่ได้นำไปทำจริงๆ จึงเกิดคำถามขึ้นกับเราว่า “ทำอย่างไรให้เกษตรกร ที่อยากจะเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์สามารถทำได้สำเร็จและอยู่ รอด?” ข้อมูลต่างๆที่เราได้จากเครือข่าย คือ เกษตรกรไม่สามารถเริ่ม ต้นเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองได้ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบเดิม พวก เขาไม่สามารถหาปัจจัยการผลิตที่เป็นอินทรีย์ได้ อีกทั้งยังกังวลว่าจะทำ ไม่สำเร็จ ทำแล้วไม่รู้จะขายที่ไหน
“สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำเกษตรอินทรีย์” จึงจำเป็นมากๆในการ ทำเกษตรอินทรีย์ให้ทำได้จริง นวัตกรรมชาวบ้านจึงปรับตัวมาพัฒนา ระบบเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ที่เตรียมพร้อมตั้งแต่ เมล็ดพันธุ์ ปัจจัย การผลิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิชาการสมัยใหม่ ไปจนถึงการแปรรูป ทำการตลาด และจัดจำหน่ายสินค้า เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในเครือข่าย เราเรียกระบบนี้ว่า “เกษตรพันธสัญญาชุมชน” หรือ “Social Contract Farming”
*ที่มา: ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2550 สำนัก งานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สคช.
(Social Contract Farming) หรือ ระบบเกษตรอินทรีย์ครบวงจร
แก้ไขปัญหาให้เกษตรกรรายย่อยได้อย่างไร?
เกษตรกรรายย่อยที่นาอยู่ห่างไกลจากร้านขายปัจจัย การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์มากๆการขนส่งก็ลำบาก
ร้านเกษตรเขียวในชุมชน
ช่วยใหเ้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงปัจจัยการผลิตได้สะดวกขึ้นเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์ได้ง่าย
ร้านขายปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่บุรีรัมย์มีจำนวนน้อยมาก และร้านเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ซึ่งห่างไกลจากที่นาของเกษตรกรรายย่อยการเดินทางไกลจะทำให้เกษตรกรที่ซื้อของจำนวนน้อยๆ มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นนวัตกรรมชาวบ้าน แก้ปัญหาโดยใช้วิธีการรวมกลุ่มเครือข่ายเกษตรกร และเปิดเป็นร้านเกษตรเขียวในชุมชน ซึ่งจะรวบรวมปริมาณสินค้าที่สมาชิกในชุมชนต้องการแล้วจัดส่งไปพร้อมกัน ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง ซึ่งทำให้เกษตรกรรายย่อยได้รับสินค้าตามที่ต้องการ โดยมีต้นทุนที่ถูกลง และเข้าถึงได้สะดวกมากขึ้น
เกษตรอินทรีย์ ทำแล้วผลผลิตไม่ดี เก็บเกี่ยวได้น้อย รายได้ลดลง
โค้ชเกษตรอินทรีย์
ทีมโค้ชที่พร้อมลงพื้นที่ให้คำปรึกษาโดยตรงกับเกษตรกรในเครือข่าย และช่วยให้เกษตรกรลงมือทำได้อย่างมั่นใจในทุกขั้นตอน
ความกังวลของเกษตรกรที่จะเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์ที่ว่า ถ้าไม่ใช้สารเคมีแล้วผลผลิตเสียหายเยอะ เก็บเกี่ยวได้น้อยลง ซึ่งส่งผลให้รายได้จะลดลงนวัตกรรมชาวบ้าน จึงพัฒนาทีมพี่เลี้ยงเกษตรอินทรีย์ ที่พร้อมลงพื้นที่ไปเป็นโค้ชภาคสนามให้คำปรึกษาโดยตรงกับเกษตรกรในเครือข่าย และช่วยให้เกษตรกรลงมือทำได้อย่างมั่นใจในทุกขั้นตอน ตั้งแต่เตรียมเการผลิต การบำรุงผลผลิต ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสูง และทำรายได้ให้เกษตรกรมากขึ้น
ทำเกษตรอินทรีย์ ใช้เงินทุนเยอะ ก็ต้องขายราคาแพงขึ้น แล้วจะไปขายที่ไหน
การตลาดนำการผลิต
สร้างเครือข่ายผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ เราสามารถประกาศราคารับซื้อผลผลิตล่วงหน้าให้กับเกษตรกรรายย่อยในเครือข่ายได้ ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างชัดเจน เป็นหลักประกันให้เกษตรกรว่าทำแล้วขายได้แน่นอน
“ทำแล้วไม่รู้จะไปขายที่ไหน” เป็นความกังวลข้อใหญ่อีกข้อ ของเกษตรกรรายย่อยที่จะเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์ต้องใช้ต้นทุนสูงกว่าแบบเดิม ถ้าขายแพงก็คงไม่มีใครซื้อนวัตกรรมชาวบ้าน แก้ปัญหาโดยการทำการตลาดเชิงรุก สร้างเครือข่ายผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ เราสามารถประกาศราคารับซื้อผลผลิตล่วงหน้าให้กับเกษตรกรรายย่อยในเครือข่ายได้ ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างชัดเจน เป็นหลักประกันให้เกษตรกรว่าทำแล้วขายได้แน่นอนเมื่อเกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอน มั่นคง ก็ช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสดูแลตัวเองและครอบครัวได้ดีขึ้น
เกษตรกรรายย่อย ไม่ได้รับรองมาตรฐานออร์แกนิค จริงหรือเปล่า ไม่น่าเช่ือถือ
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
ปัจจุบันเครือข่ายของเราขาวบ้านผ่านการรับรองจาก สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) หรือ IFOAM, มาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์สหรัฐอเมริกา (NOP) และ มาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป (EU) ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรอย่างแน่นอน
ในฝั่งผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ก็ต้องการมั่นใจว่าได้รับผลผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีจริงๆ แต่กระบวนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ใช้ต้นทุนสูงเกินกว่าเกษตรกรรายย่อยทั่วๆไปจะทำได้ เพื่อยืนยันว่าเราได้ส่งมอบสินค้าคุณภาพและไม่ใช้สารเคมีให้ผู้บริโภค นวัตกรรมชาวบ้าน ดำเนินการเรื่องการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกรในเครือข่าย ปัจจุบันเครือข่ายของเราขาวบ้านผ่านการรับรองจาก สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) หรือ IFOAM, มาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์สหรัฐอเมริกา (NOP) และ มาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป (EU) ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรอย่างแน่นอน